วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

คณะผู้จัดทำ


เด็กหญิง ภคภรณ์ ปราบปัญจะ เลขที่ 18 

นางสาว ศิริวรรณ ปัญญาเปี้ยว เลขที่ 20

นางสาว สุรรัญญา ไทยรัตน์ เลขที่ 23 

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

จากจุดเริ่มต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรสู่การตลาดที่ยั่งยืน

   จากผลสำเร็จของโครงการจำหน่ายสินค้าทั้งโครงการหลวง ดอยคำ โกลเด้น เพลซ ในปัจจุบัน ได้กลายเป็นร้านค้าและแบรนด์สินค้าที่ใครก็นึกถึง ซึ่งจุดเริ่มต้นของความสำเร็จเป็นโครงการแต่ละโครงการนี้ มาจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนและแก้ปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไทยทั้งสิ้น โดยได้นำหลักการตลาดการปรับซัพพลายที่ล้นตลาดมาแปรรูปให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ที่เพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าเพิ่มขึ้น ไปพร้อมๆ กับสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรไปในตัว แถมยังช่วยให้คนไทยมีสินค้าคุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผลไว้รับประทานอีกด้วย
โครงการหลวงจากปลูกฝิ่นสู่พืชผลเมืองหนาว


         ย้อนกลับไปเมื่อปี 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9  พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และทราบว่าชาวเขาที่นั่นมีอาชีพหลักปลูกฝิ่นและขายท้อพื้นเมือง และได้ทรงแนะนำชาวเขาปลูกท้อลูกใหญ่ที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองนำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองเพื่อหาพันธ์ที่เหมาะสมกับอากาศและดินในประเทศไทย เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น พร้อมกับตั้งโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย ใช้ดำเนินงานต่างๆ มีเป้าหมายช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร  กำจัดการปลูกฝิ่น     รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน
จากวันนั้นถึงวันนี้โครงการหลวงจากพระราชดำริได้ฝ่าร้อยฝ่าหนาวผ่านการวิจัยและความร่วมมือจากนานๆ ประเทศมานานกว่า 47 ปี ได้แผ่กิ่งก้านสาขาช่วยเหลือราษฎร์โดยเฉพาะชาวไทยที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่สูงของจังหวัดต่างๆมากกว่า 25,000 ครัวเรือน ในโครงการหลวงได้ประกอบอาชีพการเกษตรผ่านพืชผลทางการเกษตรที่หลากหลายทั้งผัก ผลไม้ ดอกไม้ ไม้ประดับ สมุนไพร ชา กาแฟอราบิก้า เห็ด พืชไร่ชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์แปรรูป รวมถึงสินค้าหัตถกรรมที่เกิดจากฝีมือของแม่บ้านชาวเขาชนเผ่าต่างๆ
พร้อมการวางช่องทางการตลาดโพซิชั่นนิ่งสินค้าผัก ผลไม้ ดอกไม้ สมุนไพร เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานความปลอดภัยทั้งมาตรฐานของประเทศไทย และมาตรฐานสากล ได้แก่ GAP, GLOBAL.GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และจัดตั้งร้านโครงการหลวงเพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าการเกษตรจากคนไทยสู่คนไทยอย่างยั่งยืน

โรงงานอาหารหลวงแปรรูปสู่แบรนด์ดอยคำ



        สหกรณ์ชาวเขา และ โรงงานอาหารหลวงแปรรูป คือที่มาของแบรนด์ดอยดำ ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2515 จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ที่ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อผยุงราคาสินค้าพืชผลการเกษตร ไม่ให้ถูกพ่อค้าเอาเปรียบ โดยเฉพาะพืชผลการเกษตรจากชาวเขาที่พระองค์ทรงส่งเสริมให้ปลูกพืชผลเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อยลอย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ห่างไกลตัวเมืองและแหล่งรับซื้อจึงเปิดปัญหาพ่อค้าคนกลางกดราคา และพืชผลการเกษตรล้นตลาดในบางช่วงเวลา รวมถึงพืชผลไม่ได้ขนาดถ้านำมาจำหน่ายเป็นผลสด
ส่วนชื่อดอยดำใช้เป็นแบรนด์ที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีเป็นผู้ประธานชื่อให้ในปี 2521 เพื่อใช้เป็นตัวแทนสินค้าจากโรงงานอาหารหลวงแปรรูป(ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นดอยคำ) เพื่อใช้ในการทำตลาดจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ และพระองค์ทรงจัดตั้งดอยคำเป็นนิติบุคคลในชื่อบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เพื่อดำเนินกิจการในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคมในปี 2537
จากวันนั้นถึงวันนี้ดอยคำคือตัวแทนของผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูปที่เติบโตอย่างช้าๆ แต่ยั่งยืนมาโดยตลอด จนในปีที่ผ่านมา แบรนด์ดอยดำกลับได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากน้ำมะเขือเทศ ที่มีชาวโซเชียลดื่มและรีวิวว่ามีประโยชน์ต่อผิวพรรณ
แต่ธุรกิจย่อมเป็นธุรกิจเมื่อตลาดน้ำมะเขือเทศมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีแบรนด์อื่นๆ เข้ามาร่วมเล่นตลาดนี้เพิ่มขึ้น พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จึงได้ปรับเปลี่ยนโฉมแพคเก็จน้ำผลไม้ดอยคำใหม่ เพื่อให้มีความสดใสกล่องบรรจุเชิญชวนให้เห็นถึงความสดของผลไม้ข้างใน และลดอายุของแบรนด์ดอยคำให้ดูเด็กลง ไปพร้อมๆ กับบอกกับผู้บริโภคว่านอกจากน้ำมะเขือเทศซึ่งเป็นสินค้าหลักของน้ำผลไม้ดอยคำแล้วแบรนด์ดอยคำยังมีน้ำผลไม้อื่นๆ อีกด้วย
และในกลางปีที่ผ่านมา ดอยคำ ได้ตอกย้ำความเป็นแบรนด์น้ำผลไม้ 100% ที่ไม่แต่งสีแต่งกลิ่นและรสชาติ ยกระดับแบรนด์ให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมในราคาที่เป็นธรรมตามแนวทาง “เกษตรเพื่อชุมชน ผลิตผลเพื่อคนไทย ด้วยการ Educate ให้ผู้บริโภครับทราบถึงน้ำผลไม้ 100% ที่ไม่ปรุงแต่งแต่ละกล่องจะมีรสชาติไม่เท่ากัน จากผลไม้แต่ละลูกมีรสชาติไม่เท่ากัน และราคาของน้ำผลไม้แต่ละประเภทไม่เท่ากัน มาจากราคาของผลไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลไม้ ผ่านภาพยนตร์โฆษณา ชุด “ดอยคำขอโทษ”
ในวันนี้จากจุดเริ่มต้นของโรงงานอาหารหลวงแปรรูปจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชดอยคำได้ขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในตลาดน้ำมะเขือเทศด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 80% ของตลาดน้ำมะเขือเทศรวมและคาดการณ์รายได้ปีนี้ 1,800 ล้านบาทบนการทำธุรกิจที่ไม่แสวงผลกำไรมากจนเกินไป แต่ทำธุรกิจเพื่อให้ดอยคำและเกษตรกรอยู่รอดอย่างยั่งยืน

โกลเด้น เพลซ ต้นแบบร้านค้าปลีกเพื่อคนไทย




เมื่อเอ่ยเชื่อ โกลเด้น เพลซ ชื่อนี้อาจจะคุ้นหูเพียงสิบกว่าปีเท่านั้น เพราะโกลเด้น เพลซ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2544 โดยการดำเนินงานของบริษัท สุวรรณชาด จำกัดในพระบรมราชูปถัมภ์ หนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นต้นแบบร้านค้าปลีกแบบยั่งยืนเกี่ยวกับสินค้าการเกษตรเพื่อคนไทยด้วยการส่งเสริมด้านการผลิตให้มีคุณภาพเสมอ เพราะโกลเด้น เพลซ เปรียบเสมือน”ตู้เย็น”ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้รับประทานสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และเป็นช่องทางให้สินค้าจากท้องถิ่นที่มีคุณภาพส่งถือมือผู้บริโภคโดยตรงในราคาที่เป็นธรรมไม่ขาดทุน ผ่านโกลเด้น เพลซ 10 สาขาในปัจจุบัน
ด้วยคอนเซ็ปต์ของดีราคาประหยัดการกำหนดราคาสินค้าใน โกลเด้น เพลซจึงเป็นการกำหนดกำไรต่อหน่วยต่ำ เน้นการสร้างกำไรจากการขายเชิงปริมาณ และทำตลาดผ่านสินค้าคุณภาพจนเกิด Word of Mouth ปากต่อปากโดยไม่พึ่งงบโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่อย่างใดและทำเลที่ตั้งไม่ไกลจากแหล่งผลิตมากนักเพื่อประหยัดค่าขนส่งอีกด้วย

ผู้บริหาร "ดอยคำ"

        
           นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด  เปิดเผยว่า บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร ในฐานะเป็นผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำผลไม้และอาหารแปรรูปเพื่อสังคม ตามแนวทาง “เกษตรเพื่อชุมชน ผลิตผลเพื่อคนไทย” 



      โดยยึดหลักธุรกิจเพื่อสังคม แสดงถึงความจริงใจต่อผู้บริโภค และขยายฐานผู้บริโภคไปสู่คนรุ่นใหม่ที่รักและใส่ใจเรื่องสุขภาพ หลังจากมีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่เน้นความเรียบง่ายแปลกต่าง สะท้อนความเป็นธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ชัดเจน
     ตั้งแต่การเพาะปลูก การใช้วัตถุดิบที่สะอาดและปลอดภัย พันธุ์ผลไม้ที่ปรากฏบนกล่องเป็นชนิดเดียว รวมถึงระบุสัดของส่วนประกอบในน้ำผลไม้อย่างละเอียดตามความเป็นจริง
      “ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่คนรุ่นใหม่ เด็กและเยาวชนไทยหันมาใส่ใจบริโภคสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อพวกเขามากขึ้น รวมทั้งพวกเขาจะได้เรียนรู้คำว่า “คุณภาพ” คืออะไร หมายความว่าอย่างไร และในราคาที่เป็นธรรม หากเขาได้รับประสบการณ์เหล่านี้บ่อยๆ เชื่อว่าอนาคตพวกเขาเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” นายพิพัฒพงศ์กล่าว

       ด้านนายสรภัส สุตเธียรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด กล่าวว่า ตลาดน้ำผลไม้ระดับพรีเมียมปีนี้ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นตามกระแสสุขภาพและความงาม จากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าราว 6,000 ล้านบาท โดยน้ำผลไม้ดอยคำมีส่วนแบ่งการตลาด 20% เป็นอันดับที่ 3




     อย่างไรก็ดี หากเป็นน้ำมะเขือเทศ ดอยคำมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% เป็นอันดับ 1 ในตลาด และปีนี้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ น้ำเสาวรสผสมสารสกัดหญ้าหวาน น้ำมะเขือเทศม็อกเทล เครื่องดื่มเจียวกู่หลาน และดอกคำฝอยผสมสารสกัดจากใบหญ้าหวาน
       นอกจากนี้ ดอยคำได้เปิดตลาดโดยให้มีการจัดจุดชิมกระจายในห้างต่างๆ ประมาณ 80 จุด เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพรวมทั้งยังได้รับรู้ถึงรสชาติที่บริโภคเข้าไปว่า เป็นไปอย่างที่ทำวิจัยถึงสินค้านั้นๆ ว่า มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้น
   “โดยสิ่งที่ดอยคำไม่ลืมภารกิจหลักของเราคือ ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ดังคำว่า จริงใจ จริงจัง เป็นธรรม และที่จะเน้นผ่านสื่อสารออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เช่น ดอยคำขอโทษ...”
       นายสรภัส กล่าวเสริมว่า คำว่า “ดอยคำขอโทษ” ที่เราประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์นั้น ต้องการที่จะให้สังคมได้รับรู้สิ่งที่ดอยคำทำ และทำไมต้องมีคำว่า “ดอยคำขอโทษ” ตามมาด้วย
     ซึ่งต้องขออธิบายว่า ดอยคำขอโทษนั้น เกิดจากแนวคิด 3 อย่าง คือ 1.รสชาติของสด ของแท้จากผลไม้ชนิดนั้นจริงๆ ที่ดีต่อผู้บริโภค 2.เรื่องราคา ผลิตภัณฑ์สินค้าราคาเราจะไม่เท่ากัน บางผลิตภัณฑ์มีราคาสูง แตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบ และ 3.ความหลากหลายรสชาติ ดอยคำไม่มีให้เลือกมาก ผลไม้ส่วนใหญ่ปลูกในเมืองไทย จึงเป็นที่มาของคำว่า “ดอยคำขอโทษ”

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทดอยคำ

วิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กร

วิสัยทัศน์

บริษัทฯ เป็นธุรกิจเพื่อสังคมดำเนินการเพื่อสังคม
และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาความกินดีอยู่ดี
ของ เกษตรกร ผู้บริโภค คู่ค้าและพนักงาน
บนฐานของความเป็นธรรม

พันธกิจองค์กร

  1. 1. พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
  2. 2. พัฒนาพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสาธารณะและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
  3. 3. พัฒนาเกษตรกรและผลผลิตที่มีคุณภาพให้ยั่งยืน
  4. 4. พัฒนาชุมชน (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ให้อยู่ดีกินดีภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  5. 5. พัฒนาให้เป็นองค์กรสีเขียว
  6. 6. พัฒนาคู่ค้าที่มีคุณภาพ
  7. 7. พัฒนางานควบคู่กับมูลนิธิโครงการหลวง
  8. 8. พัฒนางานตามนโยบายของสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์




  9. อ้างอิง  http://www.doikham.co.th

เค้าโครงโครงงาน

แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ชื่อโครงงาน    โครงงานโครงการหลวงดอยคำ
2. ประเภทโครงงาน     โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
3. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
1) นางสาว ภคภรณ์ ปราบปัญจะ เลขที่ 18
2) นางสาว ศิริวรรณ ปัญญาเปี้ยว เลขที่ 20
3) นางสาว สุรรัญญา ไทยรัตน์ เลขที่ 23
4. ครูที่ปรึกษาโครงงาน     คุณครู ดุสิต คงปาน
5. ครูที่ปรึกษาร่วม   คุณครู สุรวินทร์ ติ้งหวัง
6. ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
7. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
โครงการหลวงดอยคำ ในปีพ.ศ. 2512 ได้มีการก่อตั้งโครงการหลวงตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อยุติปัญหาการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอย และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 มีพระบรมราโชวาทให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดตั้งนิติบุคคลชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยรองรับผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่โดยโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ทั้ง 3 แห่ง เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้ชื่อตราผลิตภัณฑ์ดอยคำ
ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจใน โครงการหลวงดอยคำที่เป็นทั้งแนวทางและพระมหากรุณาธิคุณ คณะผู้จัดทำจึงใช้โปรแกรม เว็บบล็อก จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอความน่าสนใจของโครงการหลวงดอยคำ และรักษาให้คงอยู่สืบไป

ประวัติโครงการ
                สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ที่จะจัดตั้งขึ้นความว่า พระองค์เป็นห่วงสถานการชายแดนไทย - พม่า บริเวณดอยดำที่ยังไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัย ทำให้มีความสะดวกต่อการเข้าออกของคนต่างด้าว และเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด รวมทั้งสิ่งที่ผิดกฎหมายต่างๆซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน จึงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งหมู่บ้านในที่ชื่อ “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่” ขึ้น โดยให้ชาวบ้านในโครงการ มีหน้าที่ดูแลป่าและบริเวณนี้และใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นเส้นตะเข็บชายแดน
นาย สหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระบรมราชวังฯ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษได้ถวายรายงานขออนุญาตใช้พื้นที่ต่ออธิบดีกรมป่าไม้ แต่พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จะต้องดำเนินการในลักษณะโครงการการทดลองทางวิชาการ อธิบดีกรมป่าไม้จึงอนุมัติใช้พื้นที่ดังกล่าวตาม มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
             วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 อธิบดีกรมป่าไม้ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง เพื่อการเร่งรัดการดำเนินการโครงการ “ บ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำ ตามพระราชดำริ ” โดยฝ่ายสำนักกรมป่าไม้เขตเชียงใหม่ (สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบัน) ผู้อำนวยการโครงการขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้มีหนังสือจากสำนักงานเขตเชียงใหม่ ด่วนที่สุด ที่ กษ.0723.7/ 1893 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ให้ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่หาดทั้งหมด 16,850 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ พร้อมทั้งยังขออนุญาตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและต่อมากรมป่าไม้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1961/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนในลักษณะ “ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯ ราวร้อยคน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ว่าโครงการหลวงเกิดขึ้นเพราะท่านไปเที่ยวราวปีพุทธศักราช 2507 
8. วัตถุประสงค์
1) เพื่อเป็นการรับรู้ถึงโครงการหลวงดอยคำ
2) เพื่อนำโปรแกรมเว็บบล็อกมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3) เป็นการส่งเสริมโครงการของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 

9. หลักการและทฤษฎี
การศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องโครงการหลวงดอยคำ ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างรายได้ของชุมชน และความมีพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยเผยแพร่ทางเว็บบล็อก

10. วิธีดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
เลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจ อินเตอร์เน็ต
-
คณะผู้จัดทำ
ทำเค้าโครงโครงงาน Microsoft Word
-
คณะผู้จัดทำ
จัดทำโครงงาน เว็บบล็อก
-
คณะผู้จัดทำ
แก้ไขและประเมินผลโครงงาน เว็บบล็อก
-
คณะผู้จัดทำ
นำเสนอโครงงาน เว็บบล็อก
-
คณะผู้จัดทำ

11. ขั้นตอนการปฏิบัติ
วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
25 ธ.ค 2559 ค้นหาข้อมูลบางส่วน คณะผู้จัดทำ
11 ม.ค 2560 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม คณะผู้จัดทำ
18 ก.พ 2560 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม คณะผู้จัดทำ
27 ก.พ 2560 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม คณะผู้จัดทำ
2 มี.ค 2560 ตรวจสอบรายงาน คณะผู้จัดทำ

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) สามารถใช้สื่อเพื่อให้ความรู้
2) สามารถนำโปรแกรมเว็บบล็อกมาเป็นสื่อได้
3) ผลดีจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่ความรู้

13. เอกสารอ้างอิง
1) เว็บอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับโครงการหลวงดอยคำ
2)http://www.doikham.co.th

14. ผลการพิจารณาโครงงาน
o  อนุมัติ           o  ควรปรับปรุง
ลงชื่อ ....................................................

ครูที่ปรึกษาโครงงาน

ร่วมเป็นครอบครัวดอยคำ (เเฟรนไชน์)

โครงการเเฟรนไชน์ ร้านครอบครัวดอยคำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ร้านดอยคำ



เกิดจากความตั้งใจที่จะให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนร่วมเป้นช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตรา"ดอยคำ"และสินค้าหลากหลายโครงการพระราชดำริ สินค้าภาคเอกชน ทั้งยังเป็นการร่วมสร้างอัตลักษณ์เฉพาะของร้านดอยคำไปยังพื้นที่ๆมีความน่าสนใจ เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และร้านครอบครัวดอยคำจะเป็นส่วนช่วยส่งมอบคุณภาพและบริการที่ดีให้แก่ผู้บริโภคร่วมกัน เพื่อความยั่งยืนต่อไป


คุณสมบัติสำหรับผู้ลงทุน
  • เป็นบุคคลที่สามารถจัดตั้งนิติบุคคล จดทะเบียนในประเทศไทย
  • มีความพร้อมในด้านเงินลงทุน
  • ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  • รักงานบริการ อดทน ไม่ย่อท้อ
  • มีความพร้อมด้านบุคคลากร
  • มีเวลาบริหารจัดการร้านสาขา
  • สามารถเข้ารับการอบมเพื่อบริหารร้านสาขา


ขั้นตอนสู่การเป็นแฟรนไชส์

ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับร้านครอบครัวดอยคำ
  • ส่วนลดทางการค้า (พิเศษ) และส่วนลดเพิ่มเติมจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่
  • สิทธิ์ในการขายให้กับร้านค้ารายย่อยในพื้นที่ ระยะเวลาอนุญาตตามสัญญา 6 ปี
  • รายการส่งเสริมการขายจากบริษัทฯ
  • การให้ความรู้ การฝึกอบรมการบริหารจัดการร้านและขั้นตอนการทำงาน
  • ช่วยตรวจสอบมาตรฐานการทำงานของร้านสาขา
  • การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและช่องทางของบริษัทฯ
  • อุปกรณ์มาตรฐานเพื่อการดำเนินงานในราคาพิเศษ



อ้างอิง http://www.doikham.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพจากโครงการหลวง

    






บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เปิดดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เพื่อรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จากมูลนิธิฯ และเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยราคาที่เป็นธรรม เพื่อนำมาผลิตและจัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปภายใต้ตราสัญลักษณ์ "ดอยคำ" เป็นการสร้างตลาดรองรับผลิตผลทางการเกษตรและส่งเสริมเกษตรกรจากโครงการในพระราชดำริ
       
       สำหรับผลิตภัณฑ์ของดอยคำนั้น จะเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านรสชาติ และความปลอดภัย และคงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการ และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายชนิดให้เลือกสรร อาทิ น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ที่ไม่ใส่สีและวัตถุกันเสียเจือปน มีให้เลือกหลายรส อาทิ น้ำเสาวรส น้ำบ๊วย น้ำสตรอเบอรี่ น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง ฯลฯ และยังมีน้ำผลไม้เข้มข้น ที่ทำมาจากผลไม้สด 100% ส่งตรงจากไร่ ซึ่งดอยคำนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นที่มีส่วนผสมของเนื้อผลไม้ ที่หอมหวานอร่อย มีวิตามิน มีให้เลือกหลายรสชาติ อาทิ น้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น น้ำลิ้นจี่เข้มข้น ฯลฯ 




      
    ไม่หมดเพียงเท่านี้ยังมีแยมผลไม้ ที่แปรรูปจากเนื้อผลไม้แท้ๆ คัดผลไม้สดที่ได้มาตรฐาน และไม่ใส่สารกันบูด มีทั้ง แยมมะม่วง มาร์มาเลดส้ม ฯลฯ ในส่วนของผลไม้อบแห้งก็มี โดยนำผลไม้มาแปรรูปอบแห้ง ปราศจากสารกันบูด ขัณฑสกรและน้ำตาล มีให้เลือกหลายอย่าง อาทิ สตรอเบอร์รี่อบแห้ง 
บ๊วย 3 รส ฝรั่งอบแห้ง ฯลฯ และนี้ยังมีผลไม้ในน้ำเชื่อม มีน้ำผึ้งแท้ 100% จากธรรมชาติ มีผลิตภัณฑ์
นมถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ 






:    http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000103605


ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์พระราชทาน

งานของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ตามหลักการดำเนินการของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1และ 2 โดยผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ดอยคำ” ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในการจัดจำหน่าย โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (ประธานมูลนิธิโครงการหลวง) ได้ประทานรูปแบบเครื่องหมายการค้าเมื่อปีพ.ศ.2521 โดยในช่วงแรกใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง มีลักษณะเครื่องหมายการค้าดังนี้


ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชบายให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ารับช่วงดำเนินกิจการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปจากมูลนิธิโครงการหลวง จัดตั้งเป็นนิติบุคคลในชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2537 และพัฒนาการจัดจำหน่ายให้มีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น และได้ปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าใหม่ให้ทันสมัยในปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา



ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ” ประกอบส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์พระราชทานเดิมที่ตำแหน่งสูงสุด กำหนดให้เป็นสีทองเพื่อแสดงถึงการสืบสานแนวพระราชปณิธานขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและใต้ลงมาคือตัวอักษร “ดอยคำ” ซึ่งเป็นตัวอักษรประดิษฐ์ในลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม มีลีลาที่เป็นลักษณะเฉพาะโดดเด่นอยู่บนพื้นฉากหลังสีเขียวรูปขนมเปียกปูน ในภาพรวมแสดงถึงบุคคลความเป็นไทย



ผลิตภัณฑ์ดอยคำ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน จากกลุ่มผู้รักและใส่ใจสุขภาพ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ กระแสการดูแลตัวเอง และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัย ทำให้ฐานผู้บริโภคจากเดิมเน้นกลุ่มครอบครัว ขยายสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน ที่มีเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนชัดเจน เป็นผู้รักสุขภาพ และสรรหาสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองเสมอ ดอยคำจึงปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ ให้สื่อถึงความเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่าย ชัดเจน และทันสมัย  โดยแนวคิดการออกแบบได้กลับไปสู่ตราสัญลักษณ์เริ่มต้นที่ก่อตั้งในปี 2515 สื่อถึงอุดมคติแห่งความสมบูรณ์ของชีวิตและหัวใจ ของความเป็นผลผลิตแบบดอยคำ โดยเริ่มใช้ในทุกผลิตภัณฑ์ในปี 2559




อ้างอิง http://www.doikham.co.th


โรงงานหลวงสำเร็จรูปทั้ง 3 แห่ง

โรงงาน

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1



ตั้งอยู่ที่ บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

   ก่อตั้งขึ้นราวปีพุทธศักราช 2515  และเป็นโรงงานหลวงฯ แห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและทุกข์ยากของราษฎร การถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา โดยในระยะแรกของการดำเนินการ โรงงานมีลักษณะเป็นเพียงรถยนต์ดัดแปลงให้เป็นโรงงานเคลื่อนที่เพื่อออกรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ต่อมาได้ใช้อาคารของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นโรงงานชั่วคราว หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นในบริเวณที่เป็นตลาดร่มเกล้าและสหกรณ์แม่งอนเดิม จนกระทั่งการก่อสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแล้วเสร็จ คณะผู้บริหารจึงได้แบ่งบุคลากรออกเป็น 3 ฝ่ายหลัก คือ ผู้จัดการที่มีความรู้เรื่องการถนอมอาหาร เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ การดำเนินงานจะมีลักษณะเป็นแบบการพัฒนาชนบท ซึ่งจากประวัติความเป็นมา มักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาท้องที่ มีการจัดตั้งสถานีอนามัยชั้นสองและศูนย์โภชนาการเด็ก เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนควบคู่ไปด้วย ถือได้ว่าเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


   ในปีพุทธศักราช 2515 และ 2549 โรงงานหลวง
ได้ประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง  ครั้งแรกได้เกิดอุทกภัยขึ้นเมื่อวันที่ 13–15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515  และในครั้งที่สองได้เกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มขึ้นเมื่อวันที่ 8–11 ตุลาคม พ.ศ.2549   ซึ่งในครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ให้กับโรงงานหลวงฯ และพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งประชาชน จำนวน 15 หมู่บ้าน ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เกิดสภาวะขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม โรงงานหลวงฯ ที่1 ซึ่งเป็นโรงงานเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย จึงได้ผลิต “น้ำดื่มตราดอยคำ” ขึ้น ออกแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ประสบภัยในครั้งนั้น และเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ” จวบจนถึงปัจจุบัน


   ภายหลังอุทกภัยในครั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จึงวางแนวทางการดูแลฟื้นฟูโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านงานการผลิตและการฟื้นฟูโรงงาน ด้านการเรียนรู้ ด้านธุรกิจสนับสนุน และงานด้านงานพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มเปิดดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2552
   ปัจจุบัน โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง)  เป็นโรงงานหลักที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิต ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ดอยคำ” โดยมีสายการผลิตสำคัญ 6 สายการผลิต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กระป๋อง ขวดแก้ว อบแห้ง น้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง และน้ำผลไม้เข้มข้น


โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2


ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ก่อตั้งขึ้นราวปีพุทธศักราช 2517 โดยมี ศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน ในนามของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการ ดำเนินการเช่นเดียวกันกับที่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว


   โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) ได้เปิดทำการทดลองผลิตข้าวโพดฝักอ่อน นมถั่วเหลืองผง เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2517 ซึ่งได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ 100,000 บาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป และได้ทูลน้อมเกล้าฯ ถวายโรงงาน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519  ซึ่งนอกจากเงินทุนส่วนนี้แล้ว ยังมีเงินทุนสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ บริษัทต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศ โดยเสด็จพระราชกุศลถวายเงิน ที่ดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้างด้วย



   นอกจากนี้ในช่วงแรกของการดำเนินการ ยังมีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดจำหน่ายปุ๋ย สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภคทางการเกษตรแก่เกษตรกรด้วย เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้สินค้าที่มีราคาถูก และยังได้มีการจัดตั้ง ศูนย์โภชนาการเด็กเพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่ถูกต้องและเติบโตเป็นประชาชนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา และพระราชทานสถานีอนามัยชั้นสอง เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้ามารับคำแนะนำในด้านสุขภาพอนามัยให้รู้จักป้องกันและดูแลรักษาตนเองในเรื่องของความเจ็บป่วยและความปลอดภัย
   โรงงานหลวงฯ ที่ 2 จะรับซื้อผลผลิตจากอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน  และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงงานแห่งนี้ เนื่องจากว่ามีเครื่องจักรผลิตแป้งถั่วเหลืองไขมันเต็มรูปแบบ(FULL FAT SOY FLOUR) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
   “ปัจจุบัน โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) เป็นโรงงานหลักที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิต ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ดอยคำ”โดยมีสายการผลิตสำคัญ เช่น น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ผลไม้แช่แข็ง และ แป้งถั่วเหลือง”




โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3


ตั้งอยู่ที่ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

   ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2525 โดยถือกำเนิดขึ้น ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และเสด็จไปยังหมู่บ้านนางอย  โพนปลาโหลกิ่งอำเภอเต่างอย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2523 ทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎร จึงมีพระราชดำริให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน เข้าดำเนินการ โดยมีพระราชดำริเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา ดังนี้

1.ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
2.ส่งเสริมให้มีรายได้
3.หลังจากพัฒนาแล้ว ชาวบ้านสามารถรักษาสภาพความเป็นอยู่และพัฒนาต่อไปได้ด้วยตนเอง


   เมื่อเริ่มโครงการพัฒนาได้สำรวจพบว่าประชาชนมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นอย่างมาก ขาดแคลนอาหารและน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคอีกทั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวยังถูกรบกวนโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงได้จัดให้เป็นพื้นที่สีแดงและยังพบหมู่บ้านที่ยากจนเช่นกันอีกจำนวน3หมู่บ้านคือหมู่บ้านห้วยหวดหมู่บ้านกวนบุ่นและหมู่บ้านโคกกลางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ รับหมู่บ้านดังกล่าวให้อยู่ในโครงการเพิ่มเติมจากหมู่บ้านนางอย โพนปลาโหล
   จากโครงการตามพระราชดำริดังกล่าว จึงมีการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้น โดยนำเอาแนวคิดมาจากการพัฒนาในพื้นที่ภาคเหนือ คือ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) กับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) มาเป็นต้นแบบ
   ซึ่งโรงงานหลวงฯแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช2525 ถือเป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งที่3โดยเริ่มดำเนินการผลิตน้ำมะเขือเทศเข้มข้นเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดแรกของโรงงานและพัฒนาอาชีพ และเสริมรายได้ของราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้ยั่งยืน  ด้วยการปลูกมะเขือเทศ และส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลทั้งนี้ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   โรงงานหลวงฯที่3(เต่างอย)ถือเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศแห่งแรกในลุ่มแม่น้ำมูล นำร่องให้เกิดโรงงานแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศ และการส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศของภาคเอกชนตามมาอย่างมากมาย รวมเป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศถึง ๒๓,๐๐๐ ไร่ในปัจจุบัน จนกระทั่ง มีคำกล่าวเรียกพื้นที่ตลอดฝั่งแม่น้ำมูลว่า “เส้นทางสายมะเขือเทศ”(Tomato Belt)ต่อมาจึงได้มีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน และแปรรูปสินค้าเพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศในด้านการพัฒนาชุมชนที่ดำเนินการควบคู่ไปนั้น ได้มีการสร้างศูนย์โภชนาการเด็ก เพื่อลดสภาพการขาดสารอาหารในเด็ก   การบูรณปฏิสังขรณ์วัด การขุดบ่อน้ำบาดาล การจัดหาถังเก็บน้ำฝน และงานสุขาภิบาลชุมชน ในด้านการพัฒนาอาชีพนั้น  ส่งเสริมให้มีการปลูกมะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน ไผ่ตง และมะละกอ โดยโรงงานหลวงฯ แห่งนี้รับซื้อผลผลิตส่วนใหญ่จากเกษตรกรในพื้นที่กิ่งอำเภอเต่างอย กิ่งอำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอกุดบาก และอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และได้ขยายตลาดการรับซื้อไปถึงจังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดหนองคาย



   ต่อมาในปีพุทธศักราช 2553 เครื่องจักรผลิตหลักของโรงงานหลวงฯ ได้ชำรุดทรุดโทรม ตามอายุการใช้งาน คณะผู้บริหารจึงทูลเกล้าฯ ถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึงมีพระราชดำริให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ทำการปรับปรุงโรงงานหลวงฯแห่งนี้ โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเพิ่มกำลังการผลิตอาหารสำเร็จรูปประเภทต่างๆด้วยเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย ตามมาตรฐานโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูประดับสากลและเริ่มดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน กุมภาพันธ์ 2555
   “ปัจจุบัน โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย)  เป็นโรงงานหลักที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ดอยคำ” โดยมีสายการผลิตสำคัญ ได้แก่สายการผลิตมะเขือเทศเข้มข้น ผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง และข้าวกล้องบรรจุถุง”


   ยังมีอีกหนึ่งโรงงานหลวงที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคือ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๔ (ละหานทราย) จ.บุรีรัมย์ 




อ้างอิง http://www.doikham.co.th